วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

บทที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


 ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์(Computer) หมายถึง อุปกรณ์อิเลคทรอนิกที่ใช้ในการจัดการข้อมูลที่มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล (คำนวณและตรรกะ) แล้วนำข้อมูลไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ (Memory Unit) และนำข้อมูลออกมาแสดงผลทางหน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการเก็บข้อมูลไว้ได้เป็นจำนวนมากและสามารถเรียกมาใช้งานได้เมื่อต้องการสามารถนำไปใช้กับงานได้ดังนี้
- งานคำนวณที่สลับซับซ้อนมาก เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์
- งานที่มีปริมาณข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น การคำนวณภาษีเงินได้
-  งานที่ต้องทำเป็นประจำ เช่น การค้นหาประวัติลูกค้า การทำบัญชีรายวัน
- งานที่ต้องการความถูกต้องสูง เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งได้อย่างแม่นยำ


ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ



1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer)


        ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุะ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ

       ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน



2.  เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)


          เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก
          เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
          บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น  ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรมอย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด

          ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม 



3. มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)






          มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

     มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณืที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่อให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร




4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)







          ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย
อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้




          คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ

     แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้        จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD)        น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน 
กับแล็ปท็อป





      ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง        เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน        บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก



เดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ที่เราใช้กันอยู่ตามบ้านทุกวันนี้ เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) ซึ่งในปัจจุบันนั้นได้มีการแบ่งย่อยลงไปเป็นหลายประเภท ได้แก่ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ หรือ เดสท็อปคอมพิวเตอร์ (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือ แล็บท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) นอกจากนี้ ยังมีคอมพิวเตอร์มือถือ (Mobile Computer) และคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต (Tablet Computer) ที่กำลังมาแรงในยุคนี้อีกด้วย
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ หากแบ่งโดยหลักการ จะสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ



1. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู (CPU)


2. หน่วยความจำหลัก หรือ แรม (RAM)


3. อุปกรณ์นำเข้า / ส่งออก (Input / Output)


4. อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage)


แต่หากแบ่งโดยองค์ประกอบทางฮาร์ดแวร์ จะแบ่งได้ดังนี้




- หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู (CPU)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เหมือนกับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนตีความ และประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟแวร์ หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจ หรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ



- แผงวงจรหลัก หรือ เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ด (mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (motherboard) เป็นแผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ จะเชื่อม ต่อหรือติดตั้งบน Mother Board นี้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น CPU, Harddrive, VGA Card เป็นต้น
สำหรับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง, ไบออส และหน่วยความจำหลักพร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆได้ทั้งอุปกรณ์เสริมภายในและอุปกรณ์เสริมเชื่อมต่อจากภายนอก



- หน่วยความจำหลัก หรือ แรม (RAM)
RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output)


- ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA)



- การ์ดแสดงผล (VGA Card)
การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)



- การ์ดเสียง (Sound Card)
การ์ดเสียง หรือ ซาวน์การ์ด (sound card) คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่างๆ แปลงเป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า



- การ์ดแลน (Network Card, LAN Card)
Network Card หรือบางครั้งเรียกว่า LAN Card เป็นการ์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย โดยการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันผ่าน LAN Card ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีอุปกรณ์อื่นเสริม เช่น HUB, Switching, Rounter เป็นต้น ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ความเร็วจะมีตั้งแต่ 10 Mbit/sec จนถึงระดับ Gbit/bit ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และระบบเครือข่ายที่ใช้ว่าเป็นแบบ Bus, Star, Ethernet, Ring, ATM, ISDN เป็นต้น







เครื่องใช้สำนักงานต่างๆ ที่ควรรู้จักคือ?



-เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นอุปกรณ์สำนักงาน
อย่างหนึ่งซึ่งใช้ในการสำเนาเอกสาร 
โดยการใช้ความร้อน หรือหลักไฟฟ้าสถิต ในการอ่านเอกสารต้นฉบับและพิมพ์เอกสารอีกฉบับ
ออกมา


-เครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกประดิษฐ์ออกมา
ให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์








-เครื่องพิมพ์  เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงทั่วไป

และเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลเครื่องพิมพ์หรือ
ในเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่จะเป็นสายยูเอสบี 
เครื่องพิมพ์บางชนิดที่เรียกกันว่าเครื่องพิมพ์
เครือข่าย(Network Printer) อินเตอร์เฟซที่
ใช้มักจะเป็นแลนไร้สายและ/หรืออีเทอร์เน็ต 








-พล็อตเตอร์  เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกา

ในการเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่ง
เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียน
แบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์
ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุด 








-สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและ
เปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอก
เป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, 
เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ 
ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด
หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ










-สำรองไฟ  คือ เครื่องสำรองไฟฟ้าและ
ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติในกรณีที่ไฟ
จากการไฟฟ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมา เช่นไฟตก
ไฟเกิน ไฟดับ หรือไฟกระชาก เป็นต้น


-โทรศัพท์ คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้า เป็นเครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อถึงกัน
ได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนำโยงติดต่อถึงกันและอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักส



-เครื่องโทรสาร หรือ โทรภาพ (facsimile,
 fax แฟกซ์) 
คือเทคโนโลยีอย่างหนึ่งใช้สำหรับโอนถ่าย
ข้อมูลสำเนาของเอกสาร ผ่านทางอุปกรณ์บนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เรียกว่า เครื่องโทรสาร
-เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เป็นการพัฒนามา
จาเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดาพิมพ์ได้ทั้งภาษา
ได้ทั้งและภาษาอังกฤษในเครื่องเดี่ยวกันได้
อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประสิทธิภาพในการ
ทำงานสูง เนื่องจากควบคุมด้วยระบบไมโคร
โพรเซสเซอร์ทำงานอัตโนมัติ





-เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  หรือบางทีเรียกว่า
เครื่องฉายภาพโปร่งใส เพราะวัสดุฉาย เป็นแผ่น
โปร่งใส (Transparency) หรืออาจเรียกว่า
กระดานชอล์กไฟฟ้าเพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้
เป็นเครื่องฉายที่จัดอยู่ในระบบฉายอ้อม ใช้
สำหรับฉายภาพ วัสดุ หรือเครื่องมือที่โปร่งใส



-กระดาษถ่ายเอกสาร  เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้น
มาสำหรับการจดบันทึก มีประวัติศาสตร์
ยาวนาน เชื่อกันว่ามีการใช้กระดาษครั้งแรกๆ
โดยชาวอียิปต์และชาวจีนโบราณ แต่
กระดาษในยุคแรกๆ ล้วนผลิตขึ้นเพื่อการ
จดบันทึกด้วยกันทั้งสิ้น




-เครื่องบันทึกเวลา  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจัดการ
เรื่องเวลาการเข้า – ออกงานของพนักงานภายใน
องค์กรหรือบริษัทที่มีจำนวนพนักงานเป็นจำนวนมาก
ช่วยให้ฝ่ายบุคคลทำงานง่ายขึ้น เพราะว่าสามารถ
ตรวจสอบได้ว่าพนักงานคนไหนมาทำงานกี่โมงใช้เวลา
ในการทำงานเท่าไหร่ ขาดงานวันไหนทำงานล่วงเวลา
เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้จะต้องนำไปใช้ในการ
คิดเงินเดือนให้แก่พนักงานทุกคนหากใช้เครื่องตอกบัตร
รุ่นเดิมจะทำให้ฝ่ายบุคคลต้องทำงานหนักและมักจะมี
ข้อผิดพลาดเสมอรวมทั้งพนักงานยังมีการโกงเวลาการทำงาน




-เครื่องผนึกซองจดหมาย คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้า เป็นเครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนำโยงติดต่อถึงกันและอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลัก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น